PackBack
โครงการ PackBack : Chonburi Model ดำเนินงานภายใต้คณะทำงานกิจกรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบการดำเนินงาน PRO และสร้างต้นแบบการเก็บกลับบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วตามแนวทาง EPR โดยการจำลองการทำงานองค์กรผู้ผลิต (PRO : Packgaging Producer Responsibility) นำร่องพื้นที่จังหวัดชลบุรี โดยมี การดำเนินการร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียตั้งแต่ต้นทาง อาทิ ผู้บริโภค ผู้จำหน่ายสินค้า ซาเล้ง ร้านรับซื้อของเก่า เป็นต้น จนถึงปลายทาง (โรงงานรีไซเคิล) อย่างครบวงจร ตลอดจนการทำงานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการจัดการและจัดเก็บขยะและบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วอย่างเป็นระบบ รวมทั้งการร่วมพัฒนาแผนงาน ปรับนโยบายและเทศบัญญัติเพื่อให้การเก็บกลับเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งนี้โครงการดำเนินงานด้วยเครื่องมือ
โครงการ PackBack : Chonburi Model ดำเนินงานภายใต้คณะทำงานกิจกรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบการดำเนินงาน PRO และสร้างต้นแบบการเก็บกลับบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วตามแนวทาง EPR โดยการจำลองการทำงานองค์กรผู้ผลิต (PRO : Packgaging Producer Responsibility) นำร่องพื้นที่จังหวัดชลบุรี โดยมี การดำเนินการร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียตั้งแต่ต้นทาง อาทิ ผู้บริโภค ผู้จำหน่ายสินค้า ซาเล้ง ร้านรับซื้อของเก่า เป็นต้น จนถึงปลายทาง (โรงงานรีไซเคิล) อย่างครบวงจร ตลอดจนการทำงานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการจัดการและจัดเก็บขยะและบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วอย่างเป็นระบบ รวมทั้งการร่วมพัฒนาแผนงาน ปรับนโยบายและเทศบัญญัติเพื่อให้การเก็บกลับเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งนี้โครงการดำเนินงานด้วยเครื่องมือ
- CAT A การอุดหนุนกลไกรับซื้อบรรจุภัณฑ์เก็บกลับยาก อาทิ ซองบรรจุภัณฑ์พลาสติกหลายชั้น (MLP) กล่องเครื่องดื่ม ขวดแก้วขนาด <150 มล.
- CAT B พัฒนาระบบเก็บกลับ สร้างแรงจูงใจในการคัดแยก ทำกิจกรรมตลาดนัดรีไซเคิล ซาเล้งเดลิเวอรี่ ธนาคารขยะ พัฒนาเส้นทางการเก็บขน เชื่อมโยงโรงงานรีไซเคิล
- CAT C อบรมให้ความรู้ สร้างความตระหนัก สื่อประชาสัมพันธ์ทั้งออฟไลน์และออนไลน์
ทั้งนี้โครงการมีเป้าหมายในการเก็บกลับบรรจุภัณฑ์ใช้แล้ว ประกอบด้วย
ประเภท High Collection Rate ได้แก่
- กล่องกระดาษ (กระดาษลัง กระดาษแข็ง)
- ขวดพลาสติก (ขวด PET ขวด HDPE)
- ขวดแก้ว
- กระป๋องอลูมิเนียมบรรจุเครื่องดื่ม
ประเภท Low Collection Rate ได้แก่
- ขวดแก้วขนาด < 150 มล.
- กล่องเครื่องดื่ม
- ซองบรรจุภัณฑ์พลาสติกหลายชั้น (MLP)
- CAT A การอุดหนุนกลไกรับซื้อบรรจุภัณฑ์เก็บกลับยาก อาทิ ซองบรรจุภัณฑ์พลาสติกหลายชั้น (MLP) กล่องเครื่องดื่ม ขวดแก้วขนาด <150 มล.
- CAT B พัฒนาระบบเก็บกลับ สร้างแรงจูงใจในการคัดแยก ทำกิจกรรมตลาดนัดรีไซเคิล ซาเล้งเดลิเวอรี่ ธนาคารขยะ พัฒนาเส้นทางการเก็บขน เชื่อมโยงโรงงานรีไซเคิล
- CAT C อบรมให้ความรู้ สร้างความตระหนัก สื่อประชาสัมพันธ์ทั้งออฟไลน์และออนไลน์
ทั้งนี้โครงการมีเป้าหมายในการเก็บกลับบรรจุภัณฑ์ใช้แล้ว ประกอบด้วย
ประเภท High Collection Rate ได้แก่
- กล่องกระดาษ (กระดาษลัง กระดาษแข็ง)
- ขวดพลาสติก (ขวด PET ขวด HDPE)
- ขวดแก้ว
- กระป๋องอลูมิเนียมบรรจุเครื่องดื่ม
ประเภท Low Collection Rate ได้แก่
- ขวดแก้วขนาด < 150 มล.
- กล่องเครื่องดื่ม
- ซองบรรจุภัณฑ์พลาสติกหลายชั้น (MLP)
TIPMSE และภาคเอกชน ร่วมกับภาครัฐนำโดยกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยกรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดำเนินการ EPR ภาคสมัครใจ (EPR Voluntary Program) ซึ่งเป็น 1 ใน 7 แผนการขับเคลื่อนการดำเนินงานการจัดการขยะบรรจุภัณฑ์ตามหลักการขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิต (EPR) ระยะ ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๖ – ๒๕๗๐) โดยมีเป้าหมายทดลองการดำเนินงาน PRO ภาคสมัครใจเพื่อพัฒนาสู่ PRO ภาคบังคับที่เหมาะสมกับประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันTIPMSE โดยคณะทำงานกลไก PRO ได้ (ร่าง) โครงสร้าง PRO ภาคสมัครใจ ภายใต้ชื่อ PROVE : Producer Responsibility Organization Voluntary Effort ที่ดำเนินงานโดยพันธมิตรได้แก่ PRO Thailand, PPP Plastic, Al Loop และ PackBack by TIPMSE ร่วมด้วยผู้รวบรวมได้แก่ TBR และ SCGP ในการดำเนินงานเก็บกลับบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วผ่านเครื่องมือที่เหมาะสม ทั้งนี้จะได้มีการกำหนดเป้าการเก็บกลับและบรรจุภัณฑ์เป้าหมาย โดยการดำเนินงานจะควบคู่กับการศึกษาโครงสร้าง PRO ต่างประเทศ (ร่วมกับองค์กรต่างประเทศ GIZ) แล้วปรับโครงสร้างการทำงานให้เหมาะสมกับประเทศไทย และการศึกษาการพัฒนา Data Collection ของ PRO และ Data ของสมาชิก (ร่วมกับสถานทูตเดนมาร์ก) จากพันธกิจดังกล่าว วันที่ 2 ตุลาคม 2567 ได้มีการประกาศความร่วมมือการเก็บกลับบรรจุภัณฑ์เพื่อวันที่ยั่งยืนในชื่อ “PROVE: The Drive for EPR in Thailand” ในงาน SX 2024 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยพันธมิตรทั้ง 4 หน่วยงานและเครือข่ายจะร่วมขับเคลื่อนและพัฒนาข้อเสนอให้ภาครัฐขับเคลื่อนสู่ PRO ระดับประเทศต่อไป
TIPMSE และภาคเอกชน ร่วมกับภาครัฐนำโดยกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยกรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดำเนินการ EPR ภาคสมัครใจ (EPR Voluntary Program) ซึ่งเป็น 1 ใน 7 แผนการขับเคลื่อนการดำเนินงานการจัดการขยะบรรจุภัณฑ์ตามหลักการขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิต (EPR) ระยะ ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๖ – ๒๕๗๐) โดยมีเป้าหมายทดลองการดำเนินงาน PRO ภาคสมัครใจเพื่อพัฒนาสู่ PRO ภาคบังคับที่เหมาะสมกับประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันTIPMSE โดยคณะทำงานกลไก PRO ได้ (ร่าง) โครงสร้าง PRO ภาคสมัครใจ ภายใต้ชื่อ PROVE : Producer Responsibility Organization Voluntary Effort ที่ดำเนินงานโดยพันธมิตรได้แก่ PRO Thailand, PPP Plastic, Al Loop และ PackBack by TIPMSE ร่วมด้วยผู้รวบรวมได้แก่ TBR และ SCGP ในการดำเนินงานเก็บกลับบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วผ่านเครื่องมือที่เหมาะสม ทั้งนี้จะได้มีการกำหนดเป้าการเก็บกลับและบรรจุภัณฑ์เป้าหมาย โดยการดำเนินงานจะควบคู่กับการศึกษาโครงสร้าง PRO ต่างประเทศ (ร่วมกับองค์กรต่างประเทศ GIZ) แล้วปรับโครงสร้างการทำงานให้เหมาะสมกับประเทศไทย และการศึกษาการพัฒนา Data Collection ของ PRO และ Data ของสมาชิก (ร่วมกับสถานทูตเดนมาร์ก) จากพันธกิจดังกล่าว วันที่ 2 ตุลาคม 2567 ได้มีการประกาศความร่วมมือการเก็บกลับบรรจุภัณฑ์เพื่อวันที่ยั่งยืนในชื่อ “PROVE: The Drive for EPR in Thailand” ในงาน SX 2024 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยพันธมิตรทั้ง 4 หน่วยงานและเครือข่ายจะร่วมขับเคลื่อนและพัฒนาข้อเสนอให้ภาครัฐขับเคลื่อนสู่ PRO ระดับประเทศต่อไป
Contact Us
Thailand Institute of Packaging and Recycling Management for Sustainable Environment (TIPMSE)
Thailand Institute of Packaging and Recycling Management for Sustainable Environment (TIPMSE) 7th Flr, Creative Technology Bldg. 2 Nang Linchi Rd., Thung Maha Mek, Sathon, Bangkok 10120 Thailand
Call Us: 02 345 1000 - 1289,1280
Contact Us
Thailand Institute of Packaging and Recycling Management for Sustainable Environment (TIPMSE)