“TIPMSE เข้าร่วมเสวนาวิชาการ "วิกฤตขยะบกสู่แพขยะในทะเล : จะแก้อย่างไร"”
03 March 2017
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2560 TIPMSE นำโดย นายสินชัย เทียนศิริ ผู้อำนวยการ  ได้เข้าร่วมเสวนาวิชการในหัวข้อ "วิกฤตขยะบกสู่แพขยะในทะเล : จะแก้อย่างไร" 

โดยภายในที่ประชุมได้กล่าวถึงข้อกังวลเรื่องถุงพลาสติกที่ลงสู่ทะเล เพราะเมื่อพลาสติกลอยอยู่ในน้ำเป็นเวลานานๆ จะก่อให้เกิดการสลายตัวกลายเป็นเศษพลาสติกเมื่อเศษพลาสติกลดขนาดลงเรื่อยๆจะกลายเป็นไมโครพลาสติก เพราะฉะนั้นยิ่งมีขยะพลาสติกในทะเลมากเท่าไหร่ก็จะยิ่งมีไมโครพลาสติกในทะเลมากขึ้นเท่านั้น และอาจจะส่งผลกระทบก่อให้เกิดโรคในร่างกายมนุษย์ โดยจากงานวิจัยพบว่า80% ของขยะในทะเลมาจากกิจกรรมบนบก

ที่ประชุมเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาการจัดการขยะในทะเล ดังนี้ 
1. ลดการใช้ถุงพลาสติก  นำร่องที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2. นำขยะทะเลมาเพิ่มมูลค่าในรูปแบบผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ  เช่น รองเท้าแตะ

ผอ.TIPMSE ให้ความเห็นว่า บรรจุภัณฑ์ใช้แล้ว โดยเฉพาะบรรจุภัณฑ์พลาสติกไม่ได้เป็นปัญหากับสิ่งแวดล้อม แต่ประเทศไทยยังไม่มีการบริหารจัดการที่ดี จากพฤติกรรมของคนไทยพบว่า ใช้ถุงพลาสติกใส่ขยะอินทรีย์  จึงทำให้ถุงพลาสติกพบมากที่หลุมฝังกลบ พร้อมเสนอแนวทางการเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ใช้แล้ว เป็นวัตถุดิบโดย TIPMSE จะทำหน้าที่ให้ความรู้ เชื่อมโยงในทุกกลุ่มเป้าหมาย ส่งเสริมกิจกรรมเพื่อให้บรรจุภัณฑ์ใช้แล้วเป็นวัตถุดิบ และส่งต่อไปยังโรงงานรีไซเคิลต่อไป

โดยนายสินชัยได้เสนอ บรรจุภัณฑ์ โดยเฉพาะบรรจุภัณฑ์พลาสติกไม่ใช้ผู้ร้าย แต่ประเทศไทยยังขาดการบริหารจัดการที่ดี จากพฤติกรรมของคนไทยพบว่า ใช้ถุงพลาสติกใส่ขยะอินทรีย์  จึงทำให้ถุงพลาสติกพบมากที่หลุมฝังกลบ  ดังนั้นการแก้ไขปัญหาควรแก้ไขที่ต้นเหตุหลักคือการจัดการขยะอินทรีย์ตั้งแต่ต้นทาง    

ด้านปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้ความเห็นว่า  การงดใช้ถุงพลาสติกในชีวิตประจำวันเป็นไปได้ยาก  แต่ควรลดการใช้พลาสติกที่ไม่จำเป็นต้องใช้  ควรหาแนวทางและวิธีการในการจัดการ ที่เหมาะสม โดยการอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน  


< Back