แนวคิดสังคมแห่งการบริโภคอย่างยั่งยืน หรือ CLOSED LOOP PACKAGING (CLP)

แนวทางที่มุ่งเน้นให้เกิดการจัดการบรรจุภัณฑ์ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง ด้วยการเชื่อมโยงทุกภาคส่วนให้มีส่วนร่วมในการจัดการบรรจุภัณฑ์ใช้แล้ว ไม่ให้เป็นภาระต่อสังคม เพื่อรวบรวม ส่งต่อบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วให้เป็นวัตถุดิบทั้งในส่วนของ

ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นที่มีความสำคัญต่อบรรจุภัณฑ์ทั้งกระบวนการ เพราะการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่ดี จะทำให้สามารถจัดการได้ง่ายและเหมาะสม และการณส่งต่อไปยังหน่วยต่อไปก็จะง่ายมากขึ้นด้วย

ผู้ผลิตสินค้า มีหน้าที่ในการเลือกบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมมาใช้ในการนำมาใช้บรรจุสินค้า โดยคำนึงถึงปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมและการจัดการเพื่อกลับเข้าสู่วงจรรีไซเคิล หรือสร้างบทบาทในการให้ข้อมูลข่าวสารในการจัดการบรรจุภัณฑ์อย่างถูกต้องให้กับผู้บริโภคผ่านฉลากบรรจุภัณฑ์

ผู้จำหน่าย หรือกระจายสินค้ามีหน้าที่ในการนำส่งสินค้าจากแหล่งผลิตไปยังร้านจำหน่ายแบบปลีก เพื่อให้เข้าถึงผู้บริโภคในหน่วยย่อย โดยบทบาทของศูนย์กระจายสินค้าที่มีต่อการจัดการบรรจุภัณฑ์ คือ การรวบรวมบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วกลับมายังศูนย์เพื่อให้ผู้รับซื้อสามารถมารับต่อไปจัดการต่อทั้งการล้างเพื่อช้ำหรือการรีไซเคิล

ผู้บริโภค บทบาทของผู้บริโภคในการจัดการบรรจุภัณฑ์ได้อย่างเหมาะสม สามารถเริ่มต้นได้ตั้งแต่การเลือกซื้อสินค้าที่จะใช้เกณฑ์การพิจารณาเลือกโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม อาทิ เลือกสินค้าที่ใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหรือที่สามารถรีไซเคิลได้ สินค้าที่มีการปรับปรุงบรรจุภัณฑ์ให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ในส่วนของการใช้งาน ผู้บริโภคก็สามารถจัดการบรรจุภัณฑ์หลังการใช้งานโดยการนำกลับมาใช้ซ้ำหรือส่งจำหน่ายเพื่อนำกลับมารีไซเคิล

ผู้รับซื้อ ถือเป็นตัวแปรสำคัญต่อวงจรการจัดการบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืน เพราะถือเป็นฟันเฟืองที่สำคัญในการรวบรวมและขนส่งไปยังโรงงานแปรรูป ซึ่งจะมีทั้งขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ รวมไปถึงซาเล้งที่เป็นหน่วยย่อยที่เล็กที่สุดในการนำบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วออกจากครัวเรือน

โรงงานรีไซเคิล ถือเป็นปลายสุดของวงจรก่อนที่บรรจุภัณฑ์ใช้แล้วจะกลับไปเป็นบรรจุภัณฑ์ใหม่หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งบทบาทของโรงงานรีไซเคิลที่มีต่อบรรจุภัณฑ์คือ การสร้างนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีที่สามารถเปลี่ยน
บรรจุภัณฑ์ใช้แล้วให้กลับมาเป็นวัตถุดิบได้